เมล็ดมะม่วงหิมพานต์เคลือบน้ำตาลโตนด
ประวัติความเป็นมา
กลุ่ม สตรีบ้านชะแม
ได้เริ่มดำเนินการกลุ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541
โดยมีนางบุญญา ชุมแสง เป็นประธานกลุ่มฯ
ได้นำวัฒนธรรมในการบริโภคเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มาดัดแปลงเป็นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แผ่นเพื่อส่งจำหน่าย
จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า
จนได้รังการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ ระดับประเทศ (5 ดาว)
ประจำปี 2547 ปัจจุบันกลุ่มสตรีบ้านชะแม
ได้ดำเนินการผลิตขนมพื้นเมืองหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ขนมโก๋ ขนมงา ขนมข้าวเม่ากรอบ
ขนมนางเล็ด
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. คัดเลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่สมบูรณ์และได้ขนาด
2. นำเมล็ดมะม่วงมาแกะเอาเปลือก
3. นำเมล็ดมะม่วงมาล้างทำความสะอาด ตั้งผึ่งไว้ให้แห้ง
4. นำน้ำตาลโตนดมาตั้งไฟเคี่ยวให้เหนียว หนืด
5. ใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ลงไป เคี่ยวต่อให้เหนียว หนีด
6. ตักเมล็ดมะม่วงใส่บล็อก
7. เกลี่ยให้เป็นแผ่นบางเสมอกัน จัดแต่งให้สวยงาม วัดขนาด ตัดเป็นชิ้น บรรจุถุง หีบห่อพร้อมส่งจำหน่าย
2. นำเมล็ดมะม่วงมาแกะเอาเปลือก
3. นำเมล็ดมะม่วงมาล้างทำความสะอาด ตั้งผึ่งไว้ให้แห้ง
4. นำน้ำตาลโตนดมาตั้งไฟเคี่ยวให้เหนียว หนืด
5. ใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ลงไป เคี่ยวต่อให้เหนียว หนีด
6. ตักเมล็ดมะม่วงใส่บล็อก
7. เกลี่ยให้เป็นแผ่นบางเสมอกัน จัดแต่งให้สวยงาม วัดขนาด ตัดเป็นชิ้น บรรจุถุง หีบห่อพร้อมส่งจำหน่าย
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
1. เป็นการนำผลผลิตที่มีในท้องถิ่นมาเพื่มมูลค่า
2. ได้รับมาตรฐาน อย. 3. สืบทอดวัฒนธรรมการบริโภคเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในอดีด
4. เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มันกรอบ อร่อย 5. รับประทานได้ทุกเพศ วัย "เม็ดม่วงดี ต้องตราลูกโหนด"
ปริมาณการผลิต
ปริมาณการผลิต 4,000 - 5,000 บาท (ชิ้น/กล่อง)
ราคา
ราคาปลีก
กล่องละ 80 บาท,ราคาขายส่ง กล่องละ 60 บาท
สถานที่จำหน่าย
-
39/1 ต.ดีหลวง
อ.สทิงพระ จ.สงขลา 074-486294, 01-0948581
-
ออกร้านจำหน่ายตามเทศกาลต่าง
ๆ
ผ้าทอมือยกดอก
ประวัติความเป็นมา
กระแสสืนธุ์เริ่มเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี
2541 โดยแยกมาจากอำเภอระโนด
และได้ยกฐานะเป็นอำเภอกระแสสินธุ์ เมื่อ ปี 2547 จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาประมาณ
ปี 2540 พื้นที่นี้ชาวบ้านทอผ้าใช้กันเอง เรียกว่า "
ทอโหก " ใช้กี่แบบ 2 เขา มีวิธีการนำด้ายมาขยำกับข้าวสุกแล้วนำมาแขวนใช้เปลือกมะพร้าวหวีเส้นด้าย
ซึ่งเป็นวิธีที่คิดขึ้นเอง ผ้าทอมี 2 แบบ
สำหรับผู้ชายเรียกว่า "ลายลูกหมู " ผู้หญิงเรียก " ลายลูกแก้ว
"
ผ้าทอกระแสสินธุ์ได้มีการฟื้นตัวใน ปี 2547 โดย นางจุไร ทิพย์วารี ซึ่งได้ฝึกทอผ้ามาจากเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เริ่มจัดตั้งกลุ่ม โดยชักชวนสมาชิกที่มีภูมิปัญญาด้านทอผ้าในพื้นที่มารวมกันทอผ้า ได้มีการทอมาอย่างต่อเนื่อง ปี 2546 ได้เข้าคัดสรรสุดยอด นตผ. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ สี่ดาว และ ปี 2547 กลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ จนได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ห้าดาว ซึ่งเป็นเกียรติประวัติแก่พี่น้องประชาชนอำเภอกระแสสินธุ์อย่างยิ่ง
ผ้าทอกระแสสินธุ์ได้มีการฟื้นตัวใน ปี 2547 โดย นางจุไร ทิพย์วารี ซึ่งได้ฝึกทอผ้ามาจากเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เริ่มจัดตั้งกลุ่ม โดยชักชวนสมาชิกที่มีภูมิปัญญาด้านทอผ้าในพื้นที่มารวมกันทอผ้า ได้มีการทอมาอย่างต่อเนื่อง ปี 2546 ได้เข้าคัดสรรสุดยอด นตผ. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ สี่ดาว และ ปี 2547 กลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ จนได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ห้าดาว ซึ่งเป็นเกียรติประวัติแก่พี่น้องประชาชนอำเภอกระแสสินธุ์อย่างยิ่ง
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. เตรียมอุปกรณ์
2. กรอด้ายเข้าหลอด
3. เรียงค้นด้าย เก็บด้ายมารวม
4. นำด้ายสอดตามคันหวีนำเข้ากี่ม้วน
5. หวีด้ายที่นำมาผูกให้ตรึง คัดลายผ้า เก็บตะกรอลายผ้า
6. นำหลอดด้ายใส่กระสวย แล้วทอ
7. ตัดผ้าตามขนาดที่ต้องการ
8. บรรจุกล่องจำหน่าย
2. กรอด้ายเข้าหลอด
3. เรียงค้นด้าย เก็บด้ายมารวม
4. นำด้ายสอดตามคันหวีนำเข้ากี่ม้วน
5. หวีด้ายที่นำมาผูกให้ตรึง คัดลายผ้า เก็บตะกรอลายผ้า
6. นำหลอดด้ายใส่กระสวย แล้วทอ
7. ตัดผ้าตามขนาดที่ต้องการ
8. บรรจุกล่องจำหน่าย
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ลายผ้าทอกระแสสินธุ์แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่น
ซึ่งสืบสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
ปริมาณการผลิต
1,200 หลา/เดือน
ราคา
หลาละ 200 บาท
สถานที่จำหน่าย
-
62/2 ต.คลองโหน
อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา 0-7439-9053
-
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกระแสสินธุ์
กล่องเอนกประสงค์จากใบเตย
ประวัติความเป็นมา
จากภูมิปัญญาชาวบ้านในการสานเสื่อเตยมาใช้นั่ง
ปูพื้นวางสิ่งของ ของชาวบ้าน ทำให้เห็นคุณค่าของวัสดุในท้องถิ่นที่น่าจะสามารถพัฒนาและแปรรูปให้เป็นของ
ใช้เอนกประสงค์อย่างอื่นหลากหลายอีกได้มากมาย จึงได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาและนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่น
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. นำเสื่อเตยที่สานเสร็จแล้ว
มาทากาวยางแล้วตัดเป็นรูปตามแบบ
2. ตัดกระดาษแข็งตามรูป ตามขนาด ทากาวแล้วประกอบกันกับเสื่อเตย
3. นำผ้าโทเรมาใช้เป็นผ้าซับด้านในเพื่อเก็บความเรียบร้อย
4. ติดเมจิกเทป และเย็บติดกับผ้าซับ
5. ใส่พลาสติกใส
6. นำเสื่อที่ตัดเข้ารูปเสร็จแล้ว มาประกอบผ้าซับ และประกอบเป็นกล่อง
2. ตัดกระดาษแข็งตามรูป ตามขนาด ทากาวแล้วประกอบกันกับเสื่อเตย
3. นำผ้าโทเรมาใช้เป็นผ้าซับด้านในเพื่อเก็บความเรียบร้อย
4. ติดเมจิกเทป และเย็บติดกับผ้าซับ
5. ใส่พลาสติกใส
6. นำเสื่อที่ตัดเข้ารูปเสร็จแล้ว มาประกอบผ้าซับ และประกอบเป็นกล่อง
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
เป็นเส้นใยพืชที่มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม
ปริมาณการผลิต
2,000 ชิ้น /เดือน
ราคา
260 บาท
สถานที่จำหน่าย
-
139-38
ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา 074-447270, 01-1966386
ผ้าทอเกาะยอ
ประวัติความเป็นมา
เรื่องราวของผ้าทอเกาะยอมีประวัติความเป็นมายาวนาน
นับร้อย ๆ ปี และไม่มีใครจำได้ว่าใครคือคนทอผ้าเป็นคนแรกของเกาะยอ การเล่าขานจะพูดกันมารุ่นต่อรุ่น
ชาวเกาะยอที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ยังเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนคุณย่าเล่าให้ฟังว่าผ้าเกาะยอยังมีการนำมาเป็นเพลง
เรือกล่องเด็กนอน, เป็นปริศนาคำทายที่แปลก ๆ แสดงให้เห็นว่าการทอผ้าเกาะยอมีการทอกันมานานแล้ว
ซึ่งในปี 2475 ผ้าทอเกาะยอได้มีการทอยกดอกและได้รับพระราชทานชื่อจากรัชกาลที่
7 เป็นผ้ายกดอกลายก้าน แบ่งประเภท 4 ตะกอ
ได้ชื่อว่า "ลายราชวัตร" และมีการทอผ้ายกดอกมาจนถึงปัจจุบัน
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. นำวัตถุดิบ (เส้นใย) นำมาปั่นเข้าหลอดเพื่อทำการเดินด้าย
2. เก็บด้ายที่เดินจัดเป็นลำดับเพื่อจะเข้าฟันหวี
3. ม้วนด้ายเข้าเพลา
4. นำด้ายที่ม้วนมาใส่กี่กระตุกเพื่อทำการเก็บลายหรือคัดลาย
5. เมื่อคัดลายเสร็จเก็บตะกอ
6. เก็บตะกอเสร็จผูกลูกกลิ้งผูกเท้าเหยียบ แล้วทอตามลายที่ต้องการ
2. เก็บด้ายที่เดินจัดเป็นลำดับเพื่อจะเข้าฟันหวี
3. ม้วนด้ายเข้าเพลา
4. นำด้ายที่ม้วนมาใส่กี่กระตุกเพื่อทำการเก็บลายหรือคัดลาย
5. เมื่อคัดลายเสร็จเก็บตะกอ
6. เก็บตะกอเสร็จผูกลูกกลิ้งผูกเท้าเหยียบ แล้วทอตามลายที่ต้องการ
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ความปราณีต
ไม่หยาบ สีสันสวยงาม
ปริมาณการผลิต
2-3 เมตร/คน/วัน
ราคา
250 บาท/เมตร
สถานที่จำหน่าย
-
38
ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา 074-450029, 06-2917853
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น