วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

จังหวัดตรัง



ไม้เทพธาโร

ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากรากไม้เทพธาโรจะมีมากในจังหวัดตรัง ซึ่งได้ถูกตัดทิ้งในสมัยปลูกยางพารา ไม้เทพธาราเป็นไม้มีค่า และมีประโยชน์อย่างยิ่ง คือเป็นไม้สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ปลวกมอดไม่กินและถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งทางกลุ่มจึงได้ขุดรากไม้เทพธาโรมา ใช้ประโยชน์ดีกว่าปล่อยให้ชาวสวนเผาทิ้ง โดยนำมาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ด้วยวิธีการแกะสลัก และวิธีกลึง เพื่อเป็นของที่ระลึกและประดับตกแต่งบ้าน
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. ขุดรากไม้เทพธาโร
2. ตัดเป็นชิ้น ขนาดที่ต้องการ
3. ใช้เครื่องกลึงไม้กลึงให้เป็นรูปแบบที่ต้องการแล้วนำมาเขียนลวดลายด้วยวิธี ใช้ความร้อน หรือใช้เครื่องมือแกะสลักให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ เช่น ปลาพะยูน
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
เนื้อไม้มีกลิ่นหอม เป็นไม้มงคล เนื้อไม้จะป้องกันการรบกวนของปลวกและมอดได้
ปริมาณการผลิต
จำนวนเฉลี่ย 8,000 - 10,000.- ชิ้น/เดือน
ราคา
1.โถ ราคาตั้งแต่ 800 - 1,300.-บาท
2.พยูน ราคาตั้งแต่ 150 - 18,000.-บาท
3. อื่นๆ ตามขนาด รูปแบบที่ต้องการ
สถานที่จำหน่าย
-                   78/1 หมู่ที่ 1 ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 0-1895-0832




เข็มกลัดติดเสื้อ

ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากจังหวัดตรังอยู่ติดกับชายทะเลฝั่งตะวันตก ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง จึงมีปลามาก และชาวตรังนิยมรับประทานปลา ดังนั้นในตลาดสดจึงมีเกล็ดปลาที่แม่ค้าทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อ ปี 2544 จึงรวบรวมผู้ที่สนใจในการนำเกล็ดปลามาใช้ให้เกิดประโยชน์จัดตั้งกลุ่มดอกไม้ ประดิษฐ์ เกล็ดปลา มีสมาชิกแรกตั้ง 7 คน และมีสมชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีสมาชิก 30 คน ขยายเครือข่าย ไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น หมู่ที่ 2 บ้านเขาแก้ว, หมู่ที่ 4 บ้านนาเมืองเพชร นำเกล็ดปลามาประดิษฐ์ เป็นเข็มกลัดติดเสื้อ สำหรับสุภาพสตรี และประดิษฐ์เป็นดอกไม้ชนิดต่างๆ เช่น ดอก ศรีตรัง ดอกซากุระ ดอกมะลิ ดอกกล้วยไม้ ดอกแสงอาทิพย์ ฯลฯ
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. นำเกล็ดปลา มาล้างให้สะอาด และผึ่งลมให้แห้ง
2. นำมาย้อมสีตามความต่องการ
3. ตัดแต่งกลีบให้สวยงาม แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นดอกกุหลาบ โดยใช้กาวติด แล้วติดเข็มกลัดด้ายหลัง
4. นำผลิตภัณฑ์บรรจุในกล่อง
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
1. ความสวยงาม และแข็งแรง ของเกล็ดปลา 2. ความคงทน ใช้งานได้นาน
ปริมาณการผลิต
3,000.- ชิ้น/เดือน
ราคา
1.ขนาดเล็ก ราคา 20 บาท
2.ขนาดกลาง ราคา 35 บาท
3.ขนาดใหญ่ ราคา 70 บาท
4.ขนาดใหญ่ที่สุด ราคา 100 บาท
สถานที่จำหน่าย
-                   163 หมู่ที่ 7 ต.นาเมืองเพชร อ.สิเกา จ.ตรัง 0-7882-7617




ผ้าทอไสบ่อ

ประวัติความเป็นมา
กลุ่มก่อตั้ง ปี 2536 โดยนางฉิ้ง อบแก้ว เป็นประธานฯ เริ่มแรกมีสมาชิก 5 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการให้สตรีในหมู่บ้านได้มีอาชีพเสริม-มีรายได้เสริมแก่ครอบครัว มีทุนก่อตั้งเริ่มแรก 45,000.-บาท ปัจจุบัน กลุ่มฯมีโรงเรือน 2 หลัง มีที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มฯ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์จังหวัดตรัง และมีวางจำหน่าย ณ โรงแรมธรรมรินทร์นา ส่วนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ได้รับรองมาตราฐานแล้ว 4 ผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าทอเส้นคู่/ผ้ายกดอก/ผ้ามัดหมี่ และผ้าขาวม้า
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. นำเส้นด้ายมากรอ ค้นหาความกว้าง + ยาว
2. ม้วนเข้าที่จับตระกรอ
3. ทอออกมาเป็นผืนผ้า
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเป็นรากฐานการผลิต โดยใช้มือสืบทอดวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ปริมาณการผลิต
จำนวนเฉลี่ย 4,000.- หลา/เดือน
ราคา
1. ผ้า ขนาด 1 หลา ๆ ละ 200.-บาท 2.ผ้าขาวม้า ผืนละ 100.-บาท
สถานที่จำหน่าย
-                   128 หมู่ที่ 2 ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 0-9288-3115, 0-1747-1306
-                   ศูนย์หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดตรัง
-                   โรงแรมเทพธารินทร์ธนา อำเภอเมืองตรัง




เงาะอบแห้ง

ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากทางกลุ่มมีความคิดที่จะอนุรักษ์เงาะพันธ์พื้นบ้านไว้ซึ่งใกล้จะสูญพันธ์ แล้ว จึงมีความคิดที่จะแปรรูปเงาะพื้นบ้านไว้จำหน่ายนอกฤดูกาล และเป็นการแก้ปัญหาเงาะพื้นบ้านสาเหตุที่ผู้บริโภคหันไปรับประทานเงาะ โรงเรียนซึ่งมีความอร่อยกว่า ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกเงาะโรงเรียนมากขึ้นจึงทำให้เงาะพื้นบ้านใกล้สูญ พันธุ์ ส่วนที่เหลือทางกลุ่มจึงคิดหาทางอนุรักษ์และ เพิ่มราคาผลผลิตของเงาะพื้นบ้านเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ให้หันไปปลูกเงาะโรงเรียนจนผลผลิตล้นตลาด และยังสามารถอนุรักษ์เงาะพื้นบ้านไว้ได้ด้วย
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
เลือกเงาะผลที่สุกงอม คัดสรรผลที่มีคุณภาพ ไม่เน่าเสีย ล้างทำความสะอาดปลอกเปลือกล้างทำความสะอาดอีกครั้ง นำไปแช่น้ำเชื่อมที่ 32% เป็นเวลา 4 วัน นำไปอบ 6 ชั่วโมง ทำการแกะเมล็ดแล้วนำไปอบต่อ 12 ชั่วโมง เหลือความชื้น 10% ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาบรรจุถุงจำหน่ายต่อไป
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใคร และเป็นหนึ่งเดียวในเมืองไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เนื่องจากเป็นเงาะพันธุ์พื้นบ้านซึ่งไม่มีในภาค ไหนนอกจากภาคใต้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศในการคัดเลือกโครงการนำร่องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคู่แข่งทางการ ตลาด
ปริมาณการผลิต
สามารถผลิตเงาะสดได้ 120 ตัน หรือ เงาะอบแห้ง 12 ตัน
ราคา
เงาะ อบแห้ง 1 กิโลกรัม ราคา 350-400.-บาท -ราคาส่งขนาดถุง 100 กรัม ราคา 40-45 บาท/ถุง -ราคาปลีก ราคา 550-650 บาทต่อกิโลกรัม -ราคาปลีก ราคา 1 ถุง 100 กรัม 50-65 บาท/ถุง
สถานที่จำหน่าย
-                   136/2 หมู่ที่ 5 ต.นาท่ามได้ อ.เมือง จ.ตรัง 0-9908-6064
-                   ที่ทำการเกษตร จังหวัดตรัง
-                    ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ จังหวัดตรัง -กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์โครงการสินค้า OTOP


 กล้วยหักมุมฉาบ




ประวัติความเป็นมา

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปลวกล้อนได้จัดตั้งกลุ่มปี พ.ศ.2530 มีสมาชิกด้วยกัน 10 คน ปัจจุบัน 18 คน กิจกรรมกลุ่มเริ่มแรกทำกล้วยฉาบแบบโบราณ โดยได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานเกษตรกรอำเภอเมืองตรัง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2540 นายชวน หลีกภัย ได้ให้ศูนย์เพาะเนื้อเยื่อจำหวัดตรัง เพาะพันธ์กล้วยหลายชนิดแจกประชาชนทั่วไป ละมีกล้วยพันธ์หักมุกรวมอยู่ด้วย ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครรู้จักพันธุ์หักมุกเลย พันธุ์กล้วยเหลืออยู่มากเนื่องจากไม่มีผู้ประสงค์จะเอาไปปลูก จากการที่ทางกลุ่มเคยไปดูงานที่ภาคกลางหลายครั้ง ได้รับประทานกล้วยหักมุกฉาบซึ่งมีรสอร่อยมาก สีสวยโดยธรรมชาติ ทางกลุ่มได้ประชุมตกลงกันว่านำพันธ์กล้วยหักมุกมาปลูกเพื่อทำกล้วยฉาบโดย เฉพาะ และได้ดำเนินการนำเอาพันธ์กล้วยมาแจกจ่ายแก่สมาชิกและ ชาวบ้านและรับประกันว่าเมื่อกล้วยได้ออกผลผลิตทางกลุ่มจะรับซื้อผลผลิตทั้ง หมด และได้เริ่มทำกล้วยฉาบตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 เป็นต้นมา และได้ขยายพันธุ์กล้วยเพิ่มขึ้นทุกปี

กระบวนการขั้นตอนการผลิต

1. นำกล้วยดิบที่แก่ได้ที่มาปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาดยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
2. นำกะทะตั้งไฟใส่น้ำมัน ใช้ไฟร้อนปานกลาง
3. หั่นกล้วยที่เตรียมไว้ลงกะทะ ทอดให้เหลืองกรอบ ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
4. นำน้ำสะอาด 2 กิโลกรัม ใส่หม้อ ผสมน้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม และเกลือ 2ช้อนโต๊ะ ตั้งไฟจนเดือดดูให้น้ำตาลทรายละลายจนหมด ยกพักไว้ให้เย็น
5. นำกล้วยที่ทอดกรอบมาคลุกเคล้าน้ำหวาน ตักให้สะเด็ดน้ำ ลงทอดอีกครั้งจนกรอบ เมื่อได้จนเหลืองกรอบตักขึ้นพักไว้ให้เย็น รองภาชนะด้วยกรดาษซับน้ำมัน
6. จากนั้นจึงบรรจุถุง และปิดปากถุงให้สนิท

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
กล้วยหักมุกจะใสเหลืองสวยโดยธรรมชาติ รสชาดร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ปริมาณการผลิต

150-200 กิโลกรัม ต่อเดือน

ราคา

ขายปลีก กิโลกรัมละ 100 บาท ราคาขายปลีกถุงละ 20,30,40 บาท

สถานที่จำหน่าย 

-                   143/2 หมู่ที่ 10 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง 075-259-022


2 ความคิดเห็น: